• มี.ค.

    07

    2019

A Game-Changing Technology part 1

 

What is G.E.A.R.S ?

                                                                                                                ⤋

                                                           A Game-Changing Technology

                                                                                                                                     ⤋ 

    MRI For Your Golf Game

 

          ย้อนกลับไปเมื่อยุค 90 อารมณ์เหมือนย้อนกลับไปเมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว (555+) เทคโนโลยีที่ใช้สำหรับพัฒนาการเล่นกอล์ฟ ในช่วงยุคสมัยนั้นยังไม่ได้รับความนิยมหรือเป็นที่ยอมรับกันมากนัก รวมถึงราคาที่สูงมาก แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหาอะไรสำหรับการสร้างพื้นฐานต่างๆ ของวงสวิงให้ได้ดีตามโครงสร้างวงสวิงนี้ 

จะเห็นได้ว่าฐานล่างนั้นเป็นเรื่องของ swing position ต่างๆ ซึ่งอันนี้ไม่ได้ยากอะไรถ้าผ่านการฝึกได้อย่างถูกต้อง + หมั่นตรวจเช็คหน้ากระจกบ่อยๆ ยังจำความได้ว่าในช่วงแรกๆ ที่ผมเริ่มเล่นกอล์ฟ คุณพ่อจับให้ผมสวิงลมอย่างเดียวแถบไม่ได้ตีลูกเลย TwT โดยที่คุณพ่อผมมี role swing model ให้ คือ โปสเตอร์วงสวิงของไทเกอร์ วูดส์ ที่เรียงกันเป็นลำดับซึ่ง classic สุดๆ  

                 

          จำได้ว่ามือถือในตอนนั้นยังเอาไว้ใช้ได้เพียงแค่โทรคุยกัน ยังถ่ายวีดีโอไม่ได้ ตอนนั้นฝึกเช็คดูวงสวิงหน้ากระจกเอา เพื่อหวังว่าวงสวิงจะออกมาเหมือนต้นแบบเป๊ะ (555+) แต่ไม่นานเกินรอในช่วงถัดมาเทคโนโลยีก็เริ่มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำได้ว่าในช่วงแรกของเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์วงสวิงนั้นจะเป็นกล้องวีดีโอสโลโมชั่นและโปรแกรม v1 จนผ่านมาถึงปัจจุบันแค่เพียงมือถือเครื่องเดียวก็เอาอยู่แถมสะดวกสบายอีกด้วย ไม่ต้องพก labtop กับกล้อง แต่ที่ยิ่งไปกว่านั้น คือ เทคโนโลยีที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์วงสวิงนั้นเกิดการ transform ครั้งยิ่งใหญ่ จากเดิมที่เราเคยดูวงสวิงด้วยวีดีโอ แต่ณ. ปัจจุบันเราสามารถดูวงสวิงเราได้ในรูปแบบ 3 มิติ สามารถดูได้ทั้งในรูปแบบ animation และ กราฟ

   

          ผู้อ่านหลายท่านอาจเกิดความสงสัยขึ้นมาว่าแล้วข้อมูลเหล่านี้มันช่วยอะไรเรา ? ส่วนตัวผมคิดว่าสำหรับนักกอล์ฟ beginner นั้นอาจไม่ตอบโจทย์มากนัก เพราะยังอยู่ในช่วงการทำโครงสร้าง swing positon เป็นหลัก แต่ถ้าสำหรับนักกอล์ฟที่เล่นในระดับจริงจัง โดยเฉพาะนักกีฬา professional golfer ข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างมากครับ การนำข้อมูลเหล่านี้มาคิดวิเคราะห์ ทำให้เราเข้าใจถึงรูปแบบนั้นๆ ของนักกอล์ฟแต่ละคนออกมาได้อย่างเป็นรูปธรรม มันสามารถอธิบายให้เราเข้าใจได้ว่าทำไมนักกอล์ฟคนนี้ตีได้ตรง แต่กลับตีไม่ได้ระยะ ? หรือ ทำไมคนนี้ตีได้ระยะมาก แต่ไม่สามารถควบคุมทิศทางได้ ?  

          .

          จากประสบการณ์การสอนของผมจะพบว่าคนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มนักกอล์ฟที่เล่นมานานแล้ว จะมีแนวโน้มของข้อผิดพลาดที่ชัดเจน ยกตัวอย่าง ลูกส่วนใหญ่ผิดทางซ้ายเป้าหมาย 80-90 % การที่เราจะรู้ได้ว่าผลลัพธ์นี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไรนั้น เราจำเป็นที่จะต้องมองย้อนกลับไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอนโดยเริ่มจาก 1 

 

                                                    #1 : Contact Point

                                        ตีเข้าโดนกลางหน้าไม้หรือไม่ ?

                                                                                                                                                            ⤋

                                                    #2 : Club Dynamic                                                    

                       แนวและหน้าไม้ที่เข้าอิมแพคลูกนั้นเข้าปะทะลูกได้ในมุมที่ถูกต้องได้อย่างสมบรูณ์ที่สุดหรือไม่ ?

                                                                                                                                                            ⤋

                                                    #3 : Body Dynamic

                       ร่างกายเคลื่อนไหวได้ดีเพียงพอหรือไม่ ? 

                                                                          

          สำหรับในมุมมองของสถานะผู้สอนอย่างผมนั้น ทำให้เห็นความเป็นมาจากอดีต - ปัจจุบัน วิวัฒนาการของเทคโนโลยีนั้นถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้การวิเคราะห์วงสวิงนั้นเพิ่มขั้นตอนและความยุ่งยากซับซ้อนมากยิ่งขึ้น = คุณภาพ นับว่าคุ้มค่าครับ :) ปัจจุบันเราสามารถรู้ที่มาที่ไปได้ทั้งหมดวงสวิง เรียกได้ว่าวงสวิงของคุณนั้นจะถูกปอกเปลือกออกจนหมดจรด เจาะลึกลงไปอย่างละเอียดยันแถบทุกซอกทุกมุม 555+

 (Photo credit : Dr. Young-Hoo Kwon, a professor at Texas Woman's University, has his Ph.D. in exercise and sport science, with a specialization in biomechanics)
 
 

          แต่ทว่า ณ. ปัจจุบัน ก็ยังคงมีข้อถกเถียงกันอยู่ ระหว่าง old-school vs new-school !!!

         .

          ด้วยเรื่องที่ว่า ข้อมูลที่มากจนเกินไปนั้น ยิ่งทำให้นักกอล์ฟเกิดความสับสน แต่อีกฝั่งยืนยันนอนยันว่าข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์กับนักกอล์ฟได้  

         .

          ถามว่าใครถูก หรือ ใครผิด กันแน่... ?? 

         .

          ในความคิดเห็นส่วนตัวของผม ท้ายของท้ายที่สุดแล้วไม่มีทางที่เราจะสามารถวิ่งหนีความเป็นจริงไปได้ครับ อิอิ that numbers(result) never lie ส่วนตัวแล้วผมเห็นว่าข้อมูลเหล่านี้ย่อมเป็นประโยชน์ หากเราสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปประยุกต์ต่อ

         . 

          ไม่ใช่เพียงแค่กีฬากอล์ฟเท่านั้นนะครับที่มีการเก็บข้อมูลและวัดผลเช่นนี้ เพราะ ในแวดวงการกีฬาต่างๆ นั้นก็มีการนำเครื่องมือเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยในการทำ R&D (research and development) เช่นเดียวกัน 

         . 

          นักเรียนของผมท่านหนึ่งดร. สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา ได้เล่าให้ผมฟังว่ากีฬาแต่ละประเภทนั้น ไม่ว่าจะเป็นเทนนิส, บาสเกตบอล, เบสบอล, วอลเลย์บอล และอื่นๆ อีกมากมาย แม้แต่กีฬาว่ายน้ำก็ยังมีการนำเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาช่วยทำวิจัยให้กับนักกีฬาว่ายน้ำ จุดประสงค์เพื่อให้นักกีฬาพัฒนาศักยภาพการว่ายน้ำได้ดียิ่งขึ้น นักเรียนของผมท่านนี้ยังเล่าให้ฟังอีกว่าจากเดิมที่เคยสอนว่ายน้ำให้นิ้วมือเรียงติดกันและมือตรงนั้นพบว่ากินแรงไปมาก สรุปแล้วการกางนิ้วมือออกห่างกัน 8 mm และ งออุ้งมือให้เป็นลักษณะคล้ายรูปถ้วย ทำให้นักกีฬาประหยัดแรงในการจ้วงน้ำไปมากกว่าเดิม เป็นผลทำให้นักว่ายน้ำสามารถเก็บแรงเอาไว้ว่ายได้อย่างต่อเนื่องตลอดระยะทาง เรียกได้ว่าอึดทนยาวนานมากยิ่งขึ้น พอผมได้ฟังเรื่องราวนี้ทำให้ผมแอบฉุกคิดเปรียบเทียบกับเรื่องหน้านิ่งในกีฬากอล์ฟเลยครับ ;) 

         .

         กลับมาดูที่มาที่ไปของ gears กันดีกว่าครับ ก่อนที่หลุดไปเรื่องอื่น 555+ หากย้อนกลับไปเมื่อปี ค.ศ. 2014 เป็นจุดเริ่มต้นของ gears golf ที่ปล่อยตัว product ครั้งแรกในงาน pga show ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา หลายคนอ่านมาถึงตรงนี้ยังคงงงอยู่ว่าสรุปแล้วเจ้า gears technology นั้น คือ อะไรกันแน่... ? 

         .

          ถ้าหากเปรียบเทียบเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายที่สุด ครื่อง gears กับ เครื่อง MRI ในวงการแพทย์ที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยรอยโรคของผู้ป่วย เพื่อนำมาใช้ในการรักษาและติดตามผลการรักษา พูดได้เช่นเดียวกันว่าเครื่อง G.E.A.R.S กอล์ฟ คือ เครื่องมือ MRI ที่ใช้สำหรับการวินิจฉัยวงสวิงของนักกอล์ฟเช่นเดียวกัน หลักการทำงานของ gears นั้นจะจับการเคลื่อนไหวของไม้กอล์ฟ และ ร่างกายของเราตลอดระยะเวลาที่เราทำการสวิง(ตั้งแต่ตำแหน่งจรดลูด - จบวงสวิง) 

         .

          ซึ่ง ณ.ปัจจุบันเจ้าเครื่อง gears นี้ผ่านการใช้งานโดยนักกอล์ฟ pga tour, club fitters, teachers และ equipment manufacturers มาแล้วหลากหลายแห่ง เรียกได้ว่าสมแล้วที่เป็น "advanced motion capture" จริงๆ โดย gears ใช้ระบบที่เรียกว่า optical motion capture system

(photo credit : www.sinclairgolf.com)
 
 

Optical Motion Capture System ทำงานอย่างไร ? 

          optical motion capture system คือ การบันทึกการเคลื่อนไหวโดยใช้กล้องวีดีโอ ด้วยระบบการทำงานนี้ ปกติแล้วจะนิยมใช้สำหรับทำ animation หนังภาพยนต์ รวมถึงในเกมส์, คอนดักเตอร์ (Conductor) และพัฒนามาใช้เพื่องานทางการแพทย์ (Biomedical) เช่น การตรวจจับการบาดเจ็บในกีฬาหรือการวิเคราะห์สมรรถภาพของนักกีฬา เป็นต้น เป็นงานที่ต้องการความละเอียด ความแม่นยำสูง เครื่องมือเหล่านี้นิยมติดตั้งกันในห้องปฏิบัติการ เพื่อการศึกษาการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ หรือ การสร้างโมเดลการเคลื่อนไหวที่เหมือนจริง

          .

          พวกเราอาจจะเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้างแล้วว่า Mocap อะไรประมาณนี้ แต่จริงๆ แล้วนั้นเป็นเพียงชื่อย่อเท่านั้น ชื่อเต็มของมัน คือ Motion Capture นั่นเองครับ เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจจับภาพเคลื่อนไหวจากจุด Marker ที่ติดไว้ตามร่างกายหรือชุดผู้แสดง ที่แสดงท่าทางตาม Story Board หรือฉากที่กำหนดไว้

          .

โดยใช้กล้อง Optical Motion Capture โดยแสง LED จากตัวกล้องจะส่องไปกระทบกับ Marker เพื่ออ่านและแปรค่าการเคลื่อนไหวจากผู้แสดง (Actor) เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้นนำค่าที่ได้ไปรวม (Merge) กับตัวละคร (Model) ที่สร้างไว้ ทำให้ตัวละคร3 มิติ (3D Modeling) ที่สร้างขึ้นสามารถแสดงท่าทาง เคลื่อนไหวได้สมจริงและหลากหลายของอิริยาบถทั้งร่างกาย เช่น มือและใบหน้า เสมือนตัวละคร (Model) มีชีวิตจริงๆ 

Golfer Rory McIlroy taking part in a motion capture session at Celtic Manor, near Newport, in the Usk Valley. Photograph: Ben Duffy
 

gears ประกอบไปด้วยกล้อง 8 ตัว และ sensor ติดตามร่างกาย 28 จุด ที่ไม้กอล์ฟ 6 จุด 

gears จะ report ข้อมูลออกมา 3 ส่วนหลัก และ แตกแยกปัจจัยต่างๆ ออกมาได้ทั้งหมด ดังรูปแผนผังด้านล่างนี้

1. Club head metrics

2. Shaft metrics

3. Body metrics

          ที่ผมชอบมาก คือ lie angle ที่บ่งบอกตั้งแต่ตอน set-up - impact รวมถึงสามารถดู static lie angle ได้ ทำให้เราสามารถทำการวิเคราะห์เทคนิคสวิงร่วมกับอุปกรณ์ให้เข้ากันได้อย่างลงตัว... พูดได้ว่าเราสามารถรู้ได้แน่ชัดว่าจริงแล้วๆ ปัญหาที่แท้จริงมันอยู่ที่ไหน ยกตัวอย่าง ถ้าหากนักกอล์ฟสามารถเข้าอิมแพคลูกได้สแควร์ทุกครั้ง แต่ลูกกลับออกไปยังคงกินซ้ายหรือกินขวาอยู่ แสดงว่า lie angle อาจ upright หรือ flat มากจนเกินไป โดยเจ้าเครื่อง gears นั้นสามารถบอกออกมาได้เป็นองศา ตามกรณีที่ได้ยกตัวอย่างไปหากนักกอล์ฟสามารถเข้าอิมแพคลูกได้สแควร์แล้ว แต่ lie angle ผิดอยู่ เพียงการปรับเปลี่ยนที่อุปกรณ์ สามารถทำได้ด้วยการดัดไลน์แองเกิ้ลให้พอดี หรือ อาจด้วยการเปลี่ยนก้านให้มีก้านดีดตัวให้เหมาะสมกับวงสวิง แต่แล้วเราจะสามารถรู้ได้อย่างไรว่าก้านดีดพอดีกับวงสวิงของเราหรือไม่...

   (photo credit : www.gearssports.com)

          อันนี้ไม่ต้องห่วงเลยครับ เพราะเจ้า gears นั้นสามารถบอกได้อีกว่าก้านนั้นทำงานอย่างไรในช่วงระหว่างการสวิงโดยเฉพาะในช่วงดาวน์สวิง ก้านสามารถงอไปได้ตามทิศทาง แกน y คือ [lag - lead] หรือ [ลด loft - เพิ่ม loft] และทิศทางแกน x คือ [toe up - toe down] และ แกน z คือ การบิดของก้านรอบแกนตัวเอง ส่วนตัวผมคิดว่าการที่เราสามารถรู้ถึงระบบการทำงานของไม้กอล์ฟร่วมกับร่างกายแต่ละส่วนได้ทั้งหมดอย่างละเอียด ทำให้เราสามารถมองข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้อย่างทะลุปุโปร่งและเมื่อเราเห็นเข้าใจถึงแก่นของปัญหาที่แท้จริงได้ มันจะนำพาไปสู่ขั้นตอนหรือกระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างมีระบบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น >> เกิดประสิทธิผลสูงสุด  

   (photo credit : sasho mackenzie)

          โดยรวมแล้วจากประสบการณ์ที่ผมได้สัมผัสกับการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนที่ผ่านมาทั้งหมดนั้น ส่วนตัวผมคิดว่าเครื่อง gears นับว่าเป็นเครื่องที่สมบรูณ์แบบมากครับ ถ้าเทียบกับราคาที่ย่อมเยาว์ หากคิดเป็นเงินไทยประมาณล้านสามแสนกว่าบาท รถเก๋งดีๆ หนึ่งคันนี่เอง 555+ สำหรับใครที่สนใจเครื่องนี้มีแล้วนะครับ เป็นที่แรกในประเทศไทยที่สถาบัน golfing ground performance center ตั้งอยู่ที่โครงการ the golf town ซอยประดิษฐ์มนูธรรม 25 สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.golfing-ground.com

          .

          ติดตามบทความ part 2 ได้ในครั้งต่อไป ผมขอขอบคุณท่านผู้อ่านที่น่ารักทุกคน สุดท้านนี้ผมหวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับการเล่นกอล์ฟของท่านไม่มากก็น้อยครับ :)

 

 

โพสล่าสุด

Our sponsor

  • Phone:
    +6690-972-7998

© Copyright 2017 Pronice.com by RSKDesigner.com