
Steep Vs Shallow (Shaft)
ต่อจากบทความที่แล้วในเรื่องของการหมุนเปิดของร่างกายที่ตำแหน่งอิมแพค หากใครไม่ได้อ่านสามารถย้อนกลับไปอ่านบทความเดิมได้ที่ http://www.pronicep.com/article/21/
จากความเดิมเมื่อตอนที่แล้วทำให้เราทราบแล้วครับว่า ที่ตำแหน่งอิมแพคโปรมีตำแหน่งร่างกายที่หมุนเปิดมากกว่านักกอล์ฟอเมเจอร์ สาเหตุที่ทำให้พวกเขาไม่สามารถเปิดลำตัวได้นั้นมาจาก 2 สาเหตุหลักๆ ดังนี้
ในครั้งนี้ผมจะลงรายละเอียดไปที่ข้อที่ 2 ครับตามชื่อหัวข้อ หลายคนอาจจะงงว่าแล้วมันเกี่ยวอะไรกับตำแหน่งร่างกายที่อิมแพค ขอเริ่มอธิบายง่ายๆ ดังนี้ เพื่อให้เข้าใจภาพใหญ่ของมันก่อนครับ
จุดประสงค์ของนักกอล์ฟทุกคนนั้นแน่นอนเลยครับ คือ การตีลูกกอล์ฟออกไปยังเป้าหมาย (target) แต่ลูกกอล์ฟจะลอยออกไปในลักษณะรูปแบบไหนนั้น (ball flight) ขึ้นอยู่กับเทคนิคของวงสวิง (swing technique) นั้นๆครับ
จากประสบการณ์ที่ผมได้สอนนักเรียนหลากหลายคนนั้น ทำให้ผมรู้ว่าคนส่วนใหญ่ต้องการตีลูกตรงครับ และผมมักจะถามนักเรียนเสมอครับว่า ปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้ได้ลูกตรง ?? (ลองตอบดูเล่นๆครับ)
ถ้าหากเราต้องการตีลูกตรงในรูปแบบที่เพอร์เฟคที่สุดนั้น ณ.จุดอิมแพค เราต้องมีแนวของ 1. หน้าไม้ + 2. แนวไม้ ..ทั้ง 2 ปัจจัยนี้ต้องเข้าปะทะกับลูกในแนวที่สแควร์ซึ่งกันและกัน และยังต้องตรงไปที่เป้าหมายอีกด้วยครับ
แต่หากวงสวิงของเรามี 1 องค์ประกอบที่ไม่เข้าพวก ยกตัวอย่าง การสาธิตของผมในวีดีโอนี้จะสังเกตเห็นได้ว่าก้านของผมจะลงมาในระนาบที่ชันกว่าปกติ เนื่องจากผมพยายามกระชากดึงมือลงมาที่ลูก(เส้นสีแดง) ทำให้ระนาบของก้านไม้ลงมาในมุมที่ชัน(เส้นสีม่วง) และในช่วงเข้าอิมแพคผมเปิดลำตัวไปทางซ้ายตามปกติอย่างถูกต้อง แต่เนื่องด้วยระนาบของก้านที่ลงกลับมาผิดแนว ส่งผลให้ทิศทางการเดินทางของหัวไม้(swing direction) เหวี่ยงคร่อมไปทางซ้ายของเป้าหมายครับ
ก่อนอื่นหลายคนอาจจะงงว่าไอ้เจ้าตัว swing direction ในเครื่อง launch monitor ที่อ่านนี้ คือ ค่าอะไรกันแน่ ?? ผมขอเกริ่นนำเพียงคราวๆก่อนครับ เพราะผมอยากจะเขียนบทความแยกออกไปเพื่ออธิบายถึงเรื่องความแตกต่างระหว่าง club path Vs swing direction
swing direction นั้นพูดง่ายๆ คือ ทิศทางของวงสวิงในครึ่งวงล่าง เปรียบเทียบกับแนว target line ถ้าหากระนาบของกระจกนี้เอียงไปทางขวาแสดงว่า swing direction ทิศทางของวงสวิงนั้นไปทางขวาของเป้าหมาย ไปได้สามทิศทาง ซ้าย ตรง ขวา ถ้าหากลองดูในวีดีโอของผมเมื่อสักครู่จะเห็นได้ว่าทิศทางของวงสวิงผมจะเหวี่ยงไปด้านซ้ายครับ หรือ ที่นิยมเรียกว่าตีคร่อม หรือ over the top ครับ ซึ่งลูกนี้ trackman วัดค่านี้ออกมาได้ (swing direction = -13.5 ไปทางซ้าย) และอีกหนึ่งปัญหาที่ตามมาอย่างติดๆ คือ เนื่องจากแนวก้านไม้ที่ลงมาด้วยระนาบที่ชันนั้น ส่งผลให้ *angle of attack คือ มุมที่ไม้กลับลงมาเข้าปะทะกลับลูก* (angle of attack -5.8 องศา - คือ เข้ามุมกดลงกับพื้น) แต่สำหรับเหล็ก 7 นั้นถือว่าลงเข้าหาลูกชันมากไปหน่อยครับ ไดวอทจะลึกมากไปเพียงเล็กน้อย * ซึ่งค่าที่พอดีนั้นจะอยู่ที่ราวๆ -4 องศา
ผลสรุปที่อิมแพคของลูกนี้ คือ แนวของ (หน้าไม้+แนวสวิง) ทุกอย่างเฉียงไปทางซ้าย เป็นเหตุทำให้ลูกพุ่งออกจากหน้าไปตรงไปทางซ้ายทันทีครับ แต่ถ้าดูดีๆหน้าไม้จะเปิดกับแนวสวิงอยู่นิดๆ ลูกนี้เรียกว่า pull fade สังเกตดูที่
1. Club face = -8.8 องศา คือ หน้าไม้ (เส้นสีแดง) - บ่งบอกว่าหน้าปิดไปทางซ้ายถึง 8.8 องศา (เทียบกับแนวเป้าหมาย {เส้นปะสีเทา})
2. Club path = -10.0 คือ แนวสวิง (เส้นสีฟ้า) ที่คร่อมไปทางซ้าย * ค่า - แปลว่ามีแนวโน้มไปทางซ้าย*
แต่ถ้าหากเราไม่สนใจที่แนวเป้าหมาย (เส้นปะสีเทา) พิจารณาเพียงแค่ แนวสวิง กับ หน้าไม้ จะเห็นได้ว่าหน้าไม้ (เส้นสีแดง) จะอยู่ทางขวาของแนวสวิง (เส้นสีฟ้า) ดังนั้น เมื่อนำสองค่านี้มาเทียบกันจะคำนวณออกมาเป็นค่าความต่างกันระหว่างหน้าไม้ กับ แนวสวิง (face to path = +1.1) นั้นแปลว่า หน้าไม้เปิดกับแนวสวิงอยู่ที่ 1.1 องศา ลูกนี้จึงเฟสออกแค่เพียงเล็กน้อยครับ
เมื่อหน้าไม้ที่ปิด(ซ้าย) + แนวไม้ที่คร่อมลงมา(ซ้าย) + ตัวที่เปิดไปทาง(ซ้าย) = คร่อมอย่างสมบรูณ์แบบ 555+
แต่แล้วเมื่อคนส่วนใหญ่ตีลูกพุ่งตรงออกซ้ายไป ในลูกถัดไปมักจะมีการพยายามปรับเปลี่ยนเพื่อให้ลูกกลับมาตรง ด้วยการชดเชยที่มักจะออกมาเป็นลักษณะแบบนี้ครับ
สังเกตจากวีดีโอในช่วงเริ่มลงไม้มาจนถึงช่วงครึ่งทางนั้นจะคร่อมเหมือนๆกันครับ แต่ในช่วงก่อนถึงลูกจะมีการพยายามดันไม้ออกไปทางขวา และ ขืนหน้าไม้เอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้หน้าไม้ปิด ด้วยการเข้าอิมแพคด้วยร่างกายที่ผิดรูปแบบนี้ สังเกตที่ลำตัวจะปิดๆแถมตัวที่ยืดขึ้นอีกด้วยครับ เพื่อป้องกันไม่ให้หน้าไม้และแนวไม้คร่อมไปทางซ้ายต่อ รวมถึงการชดเชยเพื่อป้องกันไม่ให้ไม้ขุดลงกับพื้นลึกจนเกินไปอีกด้วยครับ
ด้วยการชดเชยของร่างกายในรูปแบบนี้จะสังเกตเห็นได้ถึงความเปลี่ยนแปลง
1. เฉือนน้อยลง * ดี *
แนวสวิง (เส้นสีฟ้า) จะคร่อมไปทางซ้ายลดลงจาก -10.0 >> -4.4 องศา และ swing direction ลดจาก -13.5 >> -6.1 องศา ทั้งสองค่านั้นลดลงไปมากกว่าครึ่ง
2. หน้าไม้เปิด * ไม่ดี *
หน้าไม้กลับลงมาเปิดกับเป้าหมายมากกว่าเดิมเป็น +4.1 องศา หากนำหน้าไม้ (เส้นสีแดง) เทียบกับ แนวสวิง (เส้นสีฟ้า) หน้าไม้นั้นอยู่ทางขวาของแนวสวิงมาก ความแตกต่างนี้แปลว่า หน้าไม้เปิดกับแนวสวิงมากถึง +8.6 องศา ทำให้ลูกเริ่มสตาร์ทขวาและเฟสซ้ำไปอีก ทำให้ลูกนี้ผิดขวาหนักมากครับ
3. องศาของหน้าไม้เพิ่มขึ้น * ไม่ดี * *dynamic loft คือ ค่าที่บ่งบอกถึงองศาของหน้าไม้ตอนโดนลูก* องศาหน้าไม้กลับเพิ่มขึ้น จากเดิม 20.1 >> 32.0 องศา ทำให้ลูกลอยโด่งไประยะหายครับ เพราะสาเหตุมาจากท่าทางการอิมแพคของร่างกาย ด้วยการชดเชยที่ตัวยืดขึ้นนี้ไปยับยั้งการหมุนของลำตัวไม่ให้เกิดขึ้น เราจึงเห็นท่าทางของร่างกายที่ลำตัวปิด สะโพกเหยียดไปหาลูกกอล์ฟ ลำตัวยืดขึ้น ส่งผลให้แขนหยุดตามไปด้วย แต่ด้วยความที่หัวไม้ยังคงมีความเร็วอยู่(แรงเฉื่อย) ทำให้หัวไม้แซงผ่านมือไป
4. มุมการเข้าปะทะ (Angle of attack) ตื้นขึ้นกว่าเดิมจริง แต่ก็กลายเป็นว่าตื้นเกินไปอีก * ไม่ดี *
สรุปว่าการชดเชยในลักษณะนี้มีแต่กลับส่งผลให้แย่ลงกว่าเดิมครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระยะที่สั้นลง และ ลูกที่ผิดออกไปทางขวาอย่างมาก ถ้าให้เลือกระหว่างสองแบบนี้ผมเลือกแบบที่ 1 อย่างแน่นอนครับ
ท้ายที่สุดแล้วยังไงก็ตามเราต้องเปิดลำตัวเข้าสู่ตำแหน่งอิมแพคให้ได้ ถ้าหากนำรูปแบบวงสวิงในวีดีโอแรกมาพัฒนาต่อ ผมต้องปรับแก้ไขที่ต้นตอของปัญหาครับ คือ ในช่วงเริ่มต้นลงไม้จนมาถึงระดับที่แขนซ้ายขนานกับพื้นหรือแขนซ้ายอยู่ระดับเดียวกับหน้าอก ผมต้องปรับให้แนวก้านกลับลงมาอยู่หลังไหล่ขวาเพียงเล็กน้อย ส่วนแนวทางการปฏิบัตินั้นต้องปล่อยให้เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติที่สุดครับ แต่ปัญหาของคนส่วนใหญ่ คือ เมื่อรู้ถึงจุดที่ถูกต้องแล้ว จึงพยายามทำด้วยการดึงมือลงมาหรือการชากแขนลงมา แต่ในความเป็นจริงแล้วการลดลงมาที่ตำแหน่งนี้จะเกิดจากกลไกของการขยับช่วงล่างนำและตามด้วยการปล่อยให้แขนลดระดับลงมาเอง แปลว่าแขนต้องอยู่ในสภาวะทิ้งตัวหรือเบาอย่างสุดๆครับ เพื่อให้แขนลดระดับลงมาอยู่ข้างๆตัวได้ หากนึกภาพไม่ออกว่าต้องเบาแค่ไหนนั้น ให้ลองยืนตัวตรงๆ กางแขนทั้งสองข้างออกขึ้นไปในระดับเดียวกับไหล่ แล้วปล่อยให้แขนตกลงมาข้างๆ ตัวด้วยแรงธรรมชาติ หากเกร็งแขนเอาไว้แขนไม่มีทางเลยครับที่แขนจะลดลงมา
หลังจากการปรับให้ช่วงเริ่มลงไม้ให้ระนาบของก้านแบนลงเพียงเล็กน้อย รวมถึงการเปิดลำตัว (หน้าอก,สะโพก) ขึ้นเข้าสู่การอิมแพคนั้น ส่งผลให้
> angle of attack -3.8 รอยไดวอทไม่ลึกมากจนเกินไป ถือว่าเข้ามุมปะทะได้พอดีมากๆ ครับ
> club path +0.1 และ club face +0.7
> swing direction -2
เรียกได้ว่าค่าทุกอย่างนั้นเปลี่ยนกลับมาได้จนเกือบสแควร์เป๊ะๆครับ หากใครมีปัญหาที่เหมือนๆกับที่ผมสาธิตมา คือ มีปัญหาตีคร่อม, ตี over the top, ตี outsidein ลองนำแนวคิดบางอย่างไปปรับใช้ดูครับ ไม่จำเป็นต้องตามผมหมดทุกอย่าง และสุดท้ายผมหวังว่าทุกคนจะได้ประโยชน์ไปไม่มากก็น้อยครับ
(Photo credit : Gear 3D, https://www.gearssports.com/golf/, www.trackman.com)